เทศบาลตำบลดินดำ

Dindam Subdistrict Municipality Office Local Government

การประเมินจริยธรรมเจ้าหน้าที่ของรัฐ


ออนไลน์ : 6

หัวข้อ :: การประเมินจริยธรรมเจ้าหน้าที่ของรัฐ

การประเมินจริยธรรมเจ้าหน้าที่ของรัฐ
 
        การรายงานผลการนําการประเมินจริยธรรม
ไปใช้ในกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคล
วัตถุประสงค์
          แบบรายงานการประเมินจริยธรรมมีวัตถุประสงค์เพื่อให้หน่วยงานของรัฐรายงานการนําผลการประเมินจริยธรรมไปใช้ในกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคลในกระบวนการใดกระบวนการหนึ่งภายใน ปีงบประมาณ
พ.ศ. 2566 อาทิ การตรวจสอบภูมิหลัง/ความประพฤติและพฤติกรรมทางจริยธรรม การประเมิน สมรรถนะ
หรือ การปฏิบัติราชการ หรือการแต่งตั้ง โอน ย้าย เลื่อนตำแหน่ง หรือการพัฒนา หรือการสอบ วัดความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรม เป็นต้น
ชื่อหน่วยงาน/ส่วนราชการ        เทศบาลตำบลดินดำ
ปีงบประมาณ                        พ.ศ. 2566
วัน/เดือน/ปี ที่รายงาน             14  มีนาคม  2566
ประมวลจริยธรรมที่หน่วยงานใช้ดำเนินการภายในหน่วยงาน
ชื่อประมวลจริยธรรม               1. ประมวลจริยธรรมข้าราชการ เทศบาลตำบลดินดำ
                                           2. ประมวลจริยธรรมผู้บริหารท้องถิ่น
                                           3. ประมวลจริยธรรมสมาชิกสภาท้องถิ่น
                                           4. ประมวลจริยธรรมพนักงานเทศบาล
URL ที่เผยแพร่                      https://www.dindam.go.th/index.html
ชื่อการดำเนินการหรือกิจกรรมการประเมินพฤติกรรมทางจริยธรรมที่นําไปใช้ในการบริหารทรัพยากรบุคคล
          “การสรรหาทรัพยากรบุคคล โดยการจัดสอบแข่งขัน เพื่อค้นหาหรือคัดกรองผู้สมัครที่มีคุณสมบัติ
และความรู้ความสามารถเหมาะสมกับตำแหน่งที่องค์กรต้องการ”
          1. ขั้นตอนการบริหารทรัพยากรบุคคลที่ได้ดําเนินงานการสรรหาทรัพยากรบุคคล โดยการจัดสอบแข่งขัน เพื่อค้นหาหรือคัดกรองผู้สมัครที่มีคุณสมบัติ และความรู้ความสามารถเหมาะสมกับตำแหน่งที่องค์กรต้องการ
มีขั้นตอนสำคัญดังนี้
                    1.1. จัดทำปฏิทินแผนดำเนินการสรรหา และเลือกสรรพนักงานจ้างการกำหนดขั้นตอน
การดำเนินการและระยะเวลาการดำเนินการในแต่ละขั้นตอน ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการดำเนินการสรรหา
และเลือกสรร
                    1.2 บันทึกเสนอตำแหน่งว่าง
                              จัดบันทึกข้อความรายงานตำแหน่งว่างตามแผนอัตรากำลัง 3 ปี เสนอนายกเทศมนตรีตำบลดินดำ เพื่อสรรหาบุคคลมาดำรงตำแหน่งที่ว่าง

                    1.3 ประกาศรับสมัครสรรหาและเลือกสรร
                              ประกาศรับสมัครนั้น ให้ปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผยและได้แจ้งประชาสัมพันธ์พัน   
การรับสมัครสรรหาและเลือกสรรผ่านเว็ปไซต์เทศบาลตำบลดินดำ https://www.dindam.go.th/index.html
โดยกำหนดระยะเวลาในการประกาศรับสมัครไม่น้อยกว่า 5 วันทำการ ก่อนกำหนดวันรับสมัคร เพื่อเปิดโอกาส
ให้ผู้ที่สมัครใจสามารถเข้าถึงการประกาศฯ ได้โดยง่ายและเป็นไปตามมาตรฐาน ยุติธรรม และโปร่งใส ตรวจสอบได้
                    1.4 การรับสมัครสรรหาและเลือกสรร
                              กำหนดระยะเวลาในการรับสมัครไม่น้อยกว่า 7 วันทำการ
                              1.4.1 การจัดทำทะเบียนรายชื่อผู้สมัครเข้ารับการสรรหาและเลือกสรรบุคคลเพื่อจ้างเป็นพนักงานจ้างเรียงตามลำดับ
                              1.4.2 ให้ผู้สมัครกรอกใบสมัครตามแบบฟอร์มใบสมัครที่ เทศบาลตำบลดินดำ
กำหนดพร้อมแนบหลักฐานเอกสารตามประกาศการรับสมัครบุคคลเพื่อการสรรหาและเลือกสรรเป็นพนักงานจ้าง
                              1.4.3 เจ้าหน้าที่ตรวจสอบใบสมัครและหลักฐานประกอบการรับสมัคร ว่าถูกต้อง
และมีคุณสมบัติตรงตามประกาศรับสมัครหรือไม่ หากถูกต้องผู้สมัครชำระเงินค่าธรรมเนียมการสมัคร
                    1.5 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการพิจารณาสรรหาและเลือกสรร
                              เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการรับสมัครสรรหาและเลือกสรรแล้ว จึงประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการเลือกสรรเพื่อเป็นพนักงานจ้าง โดยประกาศประชาสัมพันธ์ไว้ในที่เปิดเผยเป็นการทั่วไปและประชาสัมพันธ์ผ่านทางเว็ปไซต์ของเทศบาลตำบลจดินดำ https://www.dindam.go.th/index.html ซึ่งเป็นไปตามมาตฐานจริยธรรมอันเป็นค่านิยมหลักและจรรยาวิชาชีพขององค์กร
                    1.6 ดำเนินการเลือกสรร
                              หลักเกณฑ์การเลือกสรรบุคคลเพื่อปฏิบัติงานให้ยึดหลัก “สมรรถนะ” ที่จำเป็นต้องใช้สำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่งตามที่เทศบาลตำบลดินดำกำหนด ซึ่งประกอบด้วย
                              - ความรู้ของบุคคลในเรื่องต่างๆ ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน
                              - ความสามารถหรือทักษะเฉพาะของบุคคลในเรื่องต่างๆ ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน
- คุณลักษณะอื่นๆ ของบุคคลที่จำเป็นหรือเหมาะสมในการปฏิบัติงาน
          การประเมินสมรรถนะแต่ละเรื่อง เทศบาลตำบลดินดำ จะเป็นผู้กำหนด
โดยสมรรถนะเรื่องหนึ่งสามารถสมัครประเมินได้ด้วยวิธีการประเมินหลายวิธีการหรือสมรรถนะหลายๆ เรื่อง สามารถประเมินได้ด้วยวิธีการประเมินวิธีเดียวกันตามที่เห็นว่าเหมาะสม และสอดคล้องกับการประเมินสมรรถนะดังกล่าว ได้แก่การสอบข้อเขียน การทดสอบตัวอย่างงบาน การสัมภาษณ์ การทดสอบสถานการจำลอง การตรวจสอบกับบุคคลที่อ้างถึงอื่นๆ

                    1.3 ประกาศรับสมัครสรรหาและเลือกสรร
                              ประกาศรับสมัครนั้น ให้ปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย แจ้ประชาสัมพันธ์พันการรับสมัครสรรหาและเลือกสรรผ่านเว็ปไซต์เทศบาลตำบลดินดำ https://www.dindam.go.th/index.html โดยกำหนดระยะเวลาในการประกาศรับสมัครไม่น้อยกว่า 5 วันทำการ ก่อนกำหนดวันรับสมัคร เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่สมัครใจสามารถเข้าถึงการประกาศฯ ได้โดยง่ายและเป็นไปตามมาตรฐาน ยุตธรรม และโปร่งใส ตรวจสอบได้
                    1.4 การรับสมัครสรรหา
                              กำหนดระยะเวลาในการรับสมัครไม่น้อยกว่า 7 วันทำการ
                              1.4.1 การจัดทำทะเบียนรายชื่อผู้สมัครเข้ารับการสรรหาและเลือกสรรบุคคลเพื่อจ้างเป็นพนักงานจ้างเรียงตามลำดับ
                              1.4.2 ให้ผู้สมัครกรอกใบสมัครตามแบบฟอร์มใบสมัครที่ เทศบาลตำบลดินดำ
กำหนดพร้อมแนบหลัดฐานเอกสารตามประกาศการรับสมัครบุคคลเพื่อการสรรหาและเลือกสรรเป็นพนักงานจ้าง
                              1.4.3 เจ้าหน้าที่ตรวจสอบใบสมัครและหลักฐานประกอบการรับสมัคร ว่าถูกต้อง
และมีคุณสมบัติตรงตามประกาศรับสมัครหรือไม่ หากถูกต้องผู้สมัครชำระเงินค่าธรรมเนียมการสมัคร
                    1.5 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการเลือกสรร
                              เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการรับสมัครสรรหาและเลือกสรรแล้ว จึงประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการเลือกสรรเพื่อเป็นพนักงานจ้าง โดยประกาศประชาสัมพันธ์ไว้ในที่เปิดเผยเป็นการทั่วไปประชาสัมพันธ์ผ่านทางเว็ปไซต์ของเทศบาลตำบลดินดำ https://www.dindam.go.th/index.html ซึ่งเป็นไปตามมาตฐานจริยธรรมอันเป็นค่านิยมหลักและจรรยาวิชาชีพขององค์กร
                    1.6 ดำเนินการเลือกสรร
                              หลักเกณฑ์การเลือกสรรบุคคลเพื่อปฏิบัติงานให้ยึดหลัก “สมรรถนะ” ที่จำเป็นต้องใช้สำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่งตามที่เทศบาลตำบลดินดำกำหนด ซึ่งประกอบด้วย
                              - ความรู้ของบุคคลในเรื่องต่างๆ ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน
                              - ความสามารถหรือทักษะเฉพาะของบุคคลในเรื่องต่างๆ ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน
   - ทัศนคติที่มีต่อหน่วยงาน โดยเฉพาะบุคลิก การประพฤติปฏิบัติ การตอบคำถาม
การให้สัมภาษณ์ โดยน้อมนำหลักประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐของเทศบาลตำบลดินดำเป็นเกณฑ์การเลือกสรร
- คุณลักษณะอื่น 1 บุคคลที่จำเป็นหรือเหมาะสมในการปฏิบัติงาน
          การประเมินสมรรถนะแต่ละเรื่อง เทศบาลตำบลดินดำ จะเป็นผู้กำหนด
โดยสมรรถนะเรื่องหนึ่งสามารถสมัครประเมินได้ด้วยวิธีการประเมินหลายวิธีการหรือสมรรถนะหลายๆ เรื่อง สามารถประเมินได้ด้วนวิธีการประเมินวิธีเดียวกันตามที่เห็นว่าเหมาะสม และสอดคล้องกับการประเมินสมรรถนะดังกล่าว ได้แก่การสอบข้อเขียน การทดสอบตัวอย่างงบาน การสัมภาษณ์ เกณฑ์การตัดสินสำหรับผู้ผ่านการประเมินสมรรถนะ เทศบาลตำบลดินดำกำหนดตามความเหมาะสม และสอดคล้องกับตำแหน่งงาน
                   
1.7 ประกาศผลการพิจารณาการสรรหาและเลือกสรรบุคคลเพื่อเป็นพนักงานจ้าง
          เมื่อดำเนินการสรรหาและเลือกสรรพนักงานเสร็จสิ้นแล้ว ประธานกรรมการดำเนินการ
และเลือกสรรเป็นพนักงานจ้าง รายงานผลการดำเนินการสรรหาและเลือกสรรเป็นบันทึกข้อความต่อนายกเทศมนตรีตำบลดินดำ เพื่อประกาศขึ้นบัญชีและยกเลิกบัญชี ผู้ได้รับการเลือกเลือกสรรเป็นพนักงานจ้าง ทั้งนี้ โดยปิดประกาศประชาสัมพันธ์ ไว้ในที่เปิดเผยเป็นการทั่วไป และประชาสัมพันธ์ทางเว็ปไซต์ของเทศบาลตำบล
ดินดำ  https://www.dindam.go.th/index.html
1.8 ขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อพิจารณาให้
ความเห็นชอบแต่งตั้งพนักงานจ้าง
1.9 เรียกผู้ผ่านการสรรหาและเลือกสรร มาทำสัญญาจ้าง
1.10 ออกคำสั่งจ้างพนักงานจ้าง
1.11 รายงานการจ้างให้คณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดร้อยเอ็ดทราบ
1.12 เรียกพนักงานจ้างผู้ผ่านการสรรหาและเลือกสรร เข้าสู่กระบวนการตรวจสอบ
ความประพฤติกรรม เพื่อตรวจสอบภูมิหลัง ณ ตำรวจภูธรจังหาร หากพบว่ามีประวัติต้องคดีอาญาหรือพฤติกรรมเข้าข่ายไม่ต้องด้วยระเบียบกฎหมายของหน่วยงานของรัฐให้ผู้ที่ได้รับการเลือกสรรขาดคุณสมบัติการเป็นผู้ได้รับการเลือกสรรเป็นพนักงานจ้างโดยทันที
1.13 พนักงานจ้างจะต้องมีการประเมินผลการปฏิบัติงานปีละ 2 รอบ คือ รอบที่ 1 เป็นการประเมินผลการปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม – 31 มีนาคม ของปีถัดไป รอบที่ 2 เป็นการประเมินการปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 30 กันยายน ซึ่งการประเมินนั้น ผู้รับการประเมินต้องได้รับการประเมิน
ในส่วนที่ 2 พฤติกรรมการปฏิบัติราชการ (สมรรถนะ) ร้อยละ 20 อาทิการมุ่งผลสัมฤทธิ์การยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรม เป็นต้น
2. รายละเอียดการประเมินพฤติกรรมทางจริยธรรมที่สอดคล้องกับมาตรฐานทางจริยธรรมหรือประมวลจริยธรรม หรือข้อกำหนดจริยธรรม หรือพฤติกรรมที่ควรกระทำและไม่ควรกระทำ (Dos & Don’ts)
                    2.1 การประเมินสมรรถนะ ของผู้มีสิทธิเข้ารับการเลือกสรรเป็นพนักงานเทศบาลตำบลดินดำ โดยคำนึงถึงบุคลิกภาพ พฤติกรรมทางกาย วาจา ซึ่งสอดแทรกคำถามวัดความรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม
การตอบบทสัมภาษณ์ หรือตอบคำถามคณะกรรมการฯ เป็นเกณฑ์การประเมินในการขับเคลื่อนจริยธรรม
                    2.2 การประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี ปีละ 2 รอบ คือ รอบที่ 1 เป็นการประเมินผลการปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม – 31 มีนาคมของปีถัดไป รอบที่ 2 เป็นการประเมินผลการปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 1 เมษายา – 30 กันยายน ซึ่งการประเมินนั้น ผู้รับการประเมินต้องได้รับการประเมินในส่วนที่ 2 พฤติกรรมการปฏิบัติราชการ ตัวชี้วัดสมรรถนะหลัก อาทิ การมุ่งผลสัมฤทธิ์ การยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรม เป็นเกณฑ์การประเมิน ในการขับเคลื่อนจริยธรรม

3. สรุปผลการดำเนินการประเมินพฤติกรรมทางจริยธรรม
                    บุคลากรในหน่วยงานของเทศบาลตำบลดินดำ ที่ได้รับการเลือกสรรและประเมินผล
การปฏิบัติงาน รวมถึงพนักงานราชการทุกคน มีพฤติกรรมในการทำงานที่ดี ยึดมั่นในความจริงความถูกต้อง ส่งเสริมความดีงาม ความเป็นเหตุเป็นผล โดยเฉพาะความสุจริต การปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา การไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่หาผลประโยชน์ให้กับตนเองและพวกพ้อง ซึ่งคุณธรรมขอหนึ่งที่สำคัญ คือ ความซื่อสัตย์สุจริต ประเทศบ้านเมืองจะพัฒนาอยู่ได้ก็ย่อมอาศัยความซื่อสัตย์สุจริตเป็นพื้นฐาน
          4. รายละเอียดการนำผลการประเมินพฤติกรรมทางจริยธรรมไปใช้ในการบริหารทรัพยากรบุคคล
                    4.1 ผู้ที่ได้รับการเลือกสรรเป็นพนักงานจ้างองค์กรหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นทุกรายซึ่งได้รับคำแนะจากผู้บังคับบัญชาทางจริยธรรมก่อนเข้าปฏิบัติงานจริง จะมีบุคลิกลักษณะที่สะท้อนให้เห็นถึงความรู้ทักษะ ทัศนคติที่ดี ประพฤติกรรมปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ การปฏิบัติหน้าที่ โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน อย่างตั้งใจและเต็มใจในการให้บริการ การอุทิศตนเพื่อพัฒนาองค์กร ด้านคุณลักษณะด้านคุณธรรม จริยธรรม ความเป็นประชาธิปไตย ภูมิใจในความเป็นไทย และทักษะการใช้ชีวิต และการพัฒนาองค์กรให้ก้าวหน้าอย่างเต็มที่ ทั้งการวางตนเป็นแบบที่ดีในด้านคุณธรรม จริยธรรม ไม่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุขมีบุคลิกภาพที่มีความน่าเคารพนับถือของประชาชนที่มาใช้บริการโดยทั่วไป
4.2 การประเมินผลการปฏิบัติงาน 
เป็นการตรวจสอบความสามารถและสมรรถนะของข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นที่มีต่อการปฏิบัติงานในหน่วยงานหรือหน้าที่ที่รับผิดชอบตลอดรอบประเมินในเชิงปริมาณ คุณภาพ และประโยชน์
ตามวิธีการที่หน่วยงานกำหนดไว้เปรียบเทียบกับเป้าหมายผลการปฏิบัติงานตามที่กำหนดไว้เมื่อต้นรอบการประเมิน ว่ามีผลในการปฏิบัติงานของแต่ละบุคคล  เป็นไปตามเป้าหมายว่าจริงหรือไม่  อย่างไร  เพื่อที่จะเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการพิจารณาเรื่องต่างๆ เช่น การเลื่อนขั้นเงินเดือน  การแต่งตั้งหรือการพัฒนา  เป็นต้น  ทั้งนี้  การประเมินผลการปฏิบัติงานดังกล่าวได้กำหนดพฤติกรรมการการปฏิบัติงาน (สมรรถนะ)  โดยการนำสมรรถนะและระดับที่คาดหวังที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งข้าราชการส่วนท้องถิ่นแต่ละคนมาใส่ในส่วนที่  2 ของแบบประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานส่วนท้องถิ่น  โดยสมรรถนะที่นำไปใส่ในแบบประกอบด้วย
                              4.2.1 สมรรถนะหลัก (Core Competency) เป็นสมรรถนะเชิงพฤติกรรมที่กำหนดเป็นคุณลักษณะร่วมกับข้าราชการส่วนท้องถิ่นทุกคน (ทุกประเภท  ทุกตำแหน่ง  ละทุกระดับ) ที่จำเป็นเพื่อการหล่อหลอมให้เกิดพฤติกรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ร่วมกัน  เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ประชาชน ซึ่งสมรรถนะประกอบด้วยสมรรถนะ 5 สมรรถนะ ได้แก่
                                - การมุ่งผลสัมฤทธิ์
                               - การยึดมั่นและความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรม
    
- การเข้าใจในองค์กรและระบบงาน            
                    - การบริการเป็นเลิศ
                              - การทำงานเป็นทีม
                    4.2.2 กำหนดน้ำหนักสมรรถนะ  โดยผู้รับการประเมินและผู้ประเมินต้องร่วมกันพิจารณากำหนดน้ำหนักสมรรถนะกับลักษณะการกับลักษณะงานของตำแหน่งที่จะประเมิน และเมื่อรวมน้ำหนักของทุกสมรรถนะแล้วต้องได้ค่าน้ำหนัก 20 
4.3 การให้รางวัล
    การให้รางวัล มีความสำคัญต่อวงจรการบริหารผลงานและต่อหน่วยงานหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในถานะที่เป็นการตอบแทนข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ที่ปฏิบัติงานสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด และตามที่ตกลงที่หน่วยงานและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดไว้การให้รางวัล มีทั้งรางวัลที่เป็นตัวเงิน และไม่เป็นตัวเงิน โดยการให้รางวัลอาจมีทั้งที่เป็นทางการหรือไม่เป็นทางการก็ได้ เช่น การเลื่อนขั้นเงินเดือน หรือยกย่องชมเชย เป็นต้น
  ดังนั้น การบริหารผลงาน โดยเฉพาะในขั้นตอนการประเมินผลการปฏิบัติงาน นั้นกล่าวคือ
การประเมินตามสิ่งที่ตกลงกันไว้หรือผลสัมฤทธิ์ของโครงการ / งาน / กิจกรรคมซึ่งกำหนด โดยค่าเป้าหมาย รวมถึงพฤติกรรมซึ่งแสดงออกในการปฏิบัติงาน ซึ่งกำหนดโดยสมรรถนะ (Competency) และการประเมินจะนำผลคะแนนการประเมินผลสัมฤทธิ์ส่วนหนึ่ง กับคะแนนการประเมินสมรรถนะอีกส่วนหนึ่งนำมาคิดคำนวณมาคิดรวมกันจะได้ผลคะแนนผลการปฏิบัติงาน ซึ่งจะนำไปใช้พิจารณาความดีความชอบตลอดจนใช้เป็นข้อมูลในการปรึกษาหารือระหว่างผู้ปฏิบัติกับผู้บังคับบัญชา เพื่อนำไปสู่การพัฒนาปรับปรุงประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรต่อไป
5. ปัญหา/อุปสรรค และข้อเสนอแนะ
                    5.1 ปัญหาด้านหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงาน มีการกำหนดหลักเกณฑ์
การปฏิบัติงาน ในด้านของกำหนดดัชนีชี้วัดให้มีความเป็นธรรม แต่อาจเป็นเพราะความแตกต่างหลากหลายทางด้านประเภท หรือระดับตำแหน่ง สายงาน การกำหนดวิธีการและขั้นตอนในการประเมินและการวัดผลที่มีความโปร่งใส เป็นธรรม อาจมีความยุ่งยากซับซ้อน ทั้งนี้ความเข้าใจวัตถุประสงค์ในการประเมินระหว่างผู้ประเมินและผู้รับการประเมินอาจไม่ตรงกัน ซึ่งผลการประเมินที่ได้จึงอาจไม่สะท้อนประสิทธิภาพผลการปฏิบัติงาน
และสมรรถนะของผู้ถูกประเมินอย่างแท้จริง
                    5.2 ปัญหาด้านผู้ประเมิน ผู้บังคับบัญชาผู้ประเมินมีการใช้ดุลพินิจในการประเมินผลการปฏิบัติงาน เนื่องจากลักษณะงานที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคลคน และลักษณะงานที่แตกต่างจึงยากต่อการที่
จะกำหนดมาตรฐานกลางเพื่อใช้ ซึ่งในการประเมินในบางครั้งการประเมินอาจพิจารณาได้ไม่รอบด้าน และสะท้อนการปฏิบัติงาน และผลงานที่เกิดขึ้นจริง

5.3 ปัญหาด้านความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน  เช่น  ความเข้าใจวัตถุประสงค์ เป้าหมายของงาน รวมทั้งความคาดหวังอื่น ระหว่าง  ผู้รับการประเมินและผู้ประเมิน  หากมีความเข้าใจที่ไม่ตรงกันดังกล่าวข้างต้น  ย่อมมีความเป็นไปได้สูงที่ผลการประเมินที่ได้จึงอาจจะไม่สอดคล้องกับผลงานและสมรรถนะที่แท้จริงของผู้ถูกประเมิน

ลิงค์รายงานผลการดำเนินการประเมินจริยธรรม
https://www.dindam.go.th/upload/file/20230430153614File.pdf (รายงานผลการดำเนินการประเมินจริยธรรม)
 
วันที่ : 26 เมษายน 2566   View : 799